7/23/2554

ห้างหุ้นส่วน Partnerships

ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) 

     คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตัวย่อ (หสน.)
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

     ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็น"หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด" หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนและหุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจในการจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วน



ห้างหุ้นส่วนจำกัด limited partnership 
 
     ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด หมายถึง รับผิดจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อนและมีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วน ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จาย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จาย
(Withholding Tax) 

ความหมายอยางสั้น

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จาย คืออะไร
การหักภาษีเิงินได้ หัก ณ ที่จาย (Withholding Tax) เป็นการกำหนดให้ บุคคล ห้างหุ้นส่วน
บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ผูจายเงินไดพึงประเมินตามมาตรา 40 มีหนาที่หักภาษีเงินไดไว้
ทุกคราวที่จายเงินไดพึงประเมินไวบางสวนตามหลักเกณฑเงื่อนไข และอัตราที่กฎหมายกําหนด
ในการหักภาษีผูจายเงนได้ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จาย พรอมทั้งมีหนาที่ยื่นแบบ
แสดงรายการเสยภาษีเงินได้หัก ณ ที่จาย และนำส่งภาษีตอสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป


ที่มา http://www.ismed.or.th

6/13/2554

เงินยูโร | Euro money | €

สัญลักษณ์ของเงินยูโร
     

     ยูโร (euro, ; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 13 ประเทศตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง)

1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ




      เงินยูโร (ใช้สัญลักษณ์ว่า € รหัสธนาคาร EUR) คือสกุลเงินของ 13 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ประกอบด้วย: ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวีเนีย และ สเปน โดยรวมเรียกกันว่า ยูโรโซน (Eurozone - เขตยูโร) เงินยูโรเป็นผลมาจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนาในยุโรปมา ตั้งแต่ยุคสมัยโรมัน แม้กระนั้นเงินยูโรก็ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเหมือนกับเป็นการค้าขายสำหรับ ตลาดของยุโรป อำนวยความสะดวกในการค้าขายแลกเปลี่ยนอย่างอิสระภายในยูโรโซน โดยเงินสกุลนี้ยังได้รับการดูแลจากผู้ก่อตั้ง ให้เป็นส่วนสำคัญของโครงการของการการรวมอำนาจทางการเมืองของยุโรป

     เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกอียูบางแห่ง ประเทศโมนาโก ประเทศซานมาริโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังค์ฝรั่งเศส หรือลิซาอิตาลี เป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทน และได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของอียู นอกจากนี้แล้วยังมี ประเทศอันดอร์รา และ รัฐมอนเตเนโกรและรัฐโคโซโว ในประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ที่สามารถใช้เงินยูโรได้

ประวัติ ธนาคารกรุงเทพ




     ธนาคารกรุงเทพด้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2487 และเจริญเติบโตจนเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 7 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าของสินทรัพย์รวมประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท โดยเป็นผู้นำในการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี อีกทั้งยังมีฐานลูกค้ากว้างขวางที่สุดในตลาดลูกค้าบุคคล ด้วย ธนาคารกรุงเทพให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 17 ล้านบัญชีผ่านสำนักธุรกิจและสำนักธุรกิจย่อยกว่า 230 แห่ง และสาขาทั่วประเทศเกือบ 1,000 แห่ง และยังมีเครือข่ายธนาคารอัตโนมัติที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดรวมประมาณ 7,600 เครื่อง บริการธนาคารทางโทรศัพท์และธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้ง่ายและลูกค้าสามารถ เลือกทำธุรกรรมในภาษาไทยหรืออังกฤษ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ลูกค้าสามารถจัดการเรื่องการเงินได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง




อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2554


อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 10 มิ.ย. 54





ธนาคารออมทรัพย์ประจำ
3 เดือน6 เดือน12 เดือน24 เดือน
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ
กรุงเทพ0.75001.6250-1.87502.0000-2.25002.2500-2.50002.7500-3.0000
กรุงไทย0.75001.6250-1.82502.20002.3000-2.50003.0000-3.2000
กสิกรไทย0.75001.5000-1.80001.9500-2.20002.2000-2.45002.7500-3.0000
ไทยพาณิชย์0.75001.6000-2.20001.9500-2.15002.2000-2.40002.8000-3.0000
กรุงศรีอยุธยา0.75001.6500-1.90002.0000-2.30002.3000-2.50003.2000
ทหารไทย0.7500-1.00001.6000-2.25001.85002.1000-2.70003.1000-3.3500
นครหลวงไทย0.7500-1.50001.7250-2.10002.3000-2.40002.5500-2.75003.1000-3.3000
ยูโอบี0.75001.7500-1.90002.0000-2.15002.2000-2.45003.0000
ซีไอเอ็มบี ไทย0.75002.00002.50002.65003.1000
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)0.0000-1.75001.5000-1.75001.7000-1.90001.9000-2.00002.4000-2.6000
ธนชาต0.7500-1.50001.7250-2.10002.3000-2.40002.5500-2.75003.1000-3.3000
ทิสโก้0.7500-1.25002.50002.50002.75003.2500
เมกะ สากลพาณิชย์0.62501.70002.00002.2000-
เกียรตินาคิน0.75002.7500-3.00002.7500-3.00002.7500-3.00002.9000-3.1500
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย0.0000-2.25002.85003.05003.35003.4000
ไอซีบีซี (ไทย)0.8750-2.00002.50002.62502.75003.2500
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย0.75002.85003.00003.25003.5000
ต่ำสุด - สูงสุดของ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ0.6250-2.25001.5000-3.00001.7000-3.05001.9000-3.35002.4000-3.5000


2/24/2554

ตราสารทางการเงิน

   
     ตราสารทางการเงิน  หมายถึง เอกสารที่แสดงสิทธิเรียกร้อง ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางการเงิน ทั้งที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุน อาทิเช่น ตรา สารทางการเงินที่ ให้ผลตอบแทนเป็น “ดอกเบี้ย” หรือ “เงิน ปันผล” เช่น บัญชีเงินฝากประเภทต่าง ๆ หุ้นกู้ หุ้นทุน เป็นต้น หรือตรา สารทางการเงินที่ มูลค่าเพิ่มหรือลดได้ เช่น หุ้นทุน หุ้นกู้ เป็นต้น




ตราสารทางการเงินสามารถแบ่งตามอายุของตราสารได้เป็น 2 ประเภท


1. ตราสารการเงินในตลาดเงิน ได้แก่ ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน การซื้อขายส่วนใหญ่ทำ โดยการหักส่วนลด เช่น


- ตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองหรืออาวัล
- ตราสารประเภทเงินออม ได้แก่ ใบรับฝากเงิน (Certificates of Deposits) เงินฝากธนาคาร



ระบบการซื้อขายล่วงหน้า และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

     
     ระบบการซื้อขายล่วงหน้า หรือ ระบบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: Futures exchange หรือ derivatives exchange) คือระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ที่ผู้ที่เข้าร่วมทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contracts) สัญญาการซื้อล่วงหน้าเป็นสัญญาในการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามจำนวนและราคาที่ระบุ และที่ตั้งไว้ในเวลาที่ระบุในอนาคต

บทบาทของสำนักหักบัญชี

      
     ในการซื้อขายล่วงหน้าจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า "สำนักหักบัญชี" (Clearinghouse) เข้ามาเป็นผู้รับประกันการปฏิบัติหน้าที่ ตามสัญญาของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ในทางปฏิบัติแล้ว สำนักหักบัญชีมีหน้าที่เสมือน ผู้ซื้อของผู้ขาย และผู้ขายของผู้ซื้อ ซึ่งหน้าที่ของสำนักหักบัญชีดังกล่าว จะทำให้ผู้ซื้อหรือขายล่วงหน้า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
บริการเกี่ยวกับการหักบัญชี ประกอบไปด้วย 




บริษัทหลักทรัพย์

     บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้


         -กิจการนายหน้าซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์
         -กิจการค้าหลักทรัพย์
         -กิจการที่ปรึกษาการลงทุน
         -กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
         -กิจการจัดการลงทุน


        บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เป็นต้น สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด และได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จะมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก" หรือที่ผู้ลงทุนรู้จักกันทั่วไปว่า "โบรกเกอร์" ส่วนบริษัทหลักทรัพย์อื่นๆที่ไม่ได้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จะเรียกกันว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิก หรือ "ซับโบรกเกอร์"




หุ้น คืออะไร ??

      หุ้น คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ สหกรณ์ หุ้นมีหลายชนิด คือ
  1. หุ้นทุนหรือหุ้นสามัญ (Common Stock) คือหน่วยของความเป็นเจ้าของ ในบริษัท สหกรณ์ หรือกิจการอื่นที่ระบุให้แบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของเป็นหุ้นตามสัดส่วนจำนวน หุ้นที่มีถืออยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของ หุ้นที่ถือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่กิจการออกทั้ง หมด จะมีสิทธิ์ตั้งฝ่ายจัดการของกิจการได้
  2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือหุ้นที่มีความเป็นเจ้าของ ผสมกับความเป็นเจ้าหนี้ด้วย โดยที่ถ้าบริษัทนั้นๆต้องเลิกกิจการลง ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
  3. หุ้นกู้ (Debenture) คือตราสารที่กิจการออกเพื่อเป็นการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นเป็นผลตอบแทน กรณีที่เลิกกิจการผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับเงินที่ลงทุนในหุ้นกู้คืนก่อน เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
  4.  

    1/01/2554

    โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน

    โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดทุน 
     
         พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กำหนดให้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ



    ตลาดแรก
    คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้

    ตลาดรอง
    หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว

    http://www.set.or.th

    บทบาท หน้าที่ ของตลาดหลักทรัพย์

    บทบาทของตลาดหลักทรัพย์
     
    ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้


    1. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
    2. ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    3. การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

    ลิ้งค์ สมัครงาน ธนาคาร ในประเทศไทย

    กดที่ LOGO เลยครับ

    รวม ลิ้งค์ สมัคงานธนาคาร






    TMB

    อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2553

    อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2553


    ธนาคารMORMLRMRRสูงสุด*ผิดนัด*บัตรเครดิต
    ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ
    กรุงเทพ6.37506.12506.625011.500015.000020.0000
    กรุงไทย6.37506.12506.725013.725018.0000-
    กสิกรไทย6.40006.12006.650021.650023.650020.0000
    ไทยพาณิชย์6.40006.12006.650018.650021.650020.0000
    กรุงศรีอยุธยา6.87506.50006.995021.000028.0000-
    ทหารไทย6.75006.50007.000028.000028.000020.0000
    นครหลวงไทย7.00006.50007.000025.000028.000020.0000
    ยูโอบี7.35006.85007.600028.000028.000020.0000
    ซีไอเอ็มบี ไทย7.00006.75007.375028.000028.0000-
    สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)8.50008.250011.000028.000028.000020.0000
    ธนชาต6.87506.37508.250015.750018.000015.0000
    ทิสโก้6.75006.50007.000028.000028.0000-
    เมกะ สากลพาณิชย์8.25007.00007.500012.000015.0000-
    เกียรตินาคิน6.90006.62007.150028.000028.0000-
    แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย6.87506.25007.125018.000021.0000-
    ไอซีบีซี (ไทย)7.00006.75007.250021.000021.0000-
    ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย8.15007.90008.400035.000035.0000-
    เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ7.04856.66097.429122.427924.252919.3750
    สาขาธนาคารต่างประเทศ
    แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ10.75006.750011.000025.000025.0000-
    ซิตี้แบงก์-7.2500-20.990045.630020.0000
    ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น9.87506.37507.875014.750015.0000-
    เอช เอส บี ซี8.25008.25008.250021.000032.250019.0000-20.0000
    ดอยซ์แบงก์8.25008.2500-20.000022.0000-
    เจพีมอร์แกน เชส7.00007.0000-14.000014.0000-
    เครดิต อะกริกอล คอร์ปอเรทแอนด์อินเวสเมนท์แบงก์ 8.00008.00008.750013.000013.2500-
    แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น8.00007.500010.500013.500022.0000-
    อินเดียนโอเวอร์ซีส์7.75007.50008.000013.250015.0000-
    เดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี.8.50008.2500-25.000025.0000-
    อาร์ เอช บี9.25009.00009.250020.000020.0000-
    โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น7.50007.5000-15.000025.0000-
    แห่งประเทศจีน8.25006.75007.500011.750014.0000-
    มิซูโฮ คอร์ปอเรต10.75006.75007.750050.000050.0000-
    บีเอ็นพี พารีบาส์8.00008.0000-8.000019.0000-
    เฉลี่ยของสาขาธนาคารต่างประเทศ8.58047.54178.763919.016023.808720.0000

    หมายเหตุ เป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ ณ เวลาประมาณ 12.00 น.
    * ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2548 ไม่รวมอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

    " - " หมายถึง ไม่มีบริการสำหรับธุรกรรมนี้ 

    อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2553

    อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2553
    ธนาคารออมทรัพย์ประจำ
    3 เดือน6 เดือน12 เดือน24 เดือน
    ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ     
    กรุงเทพ0.50001.1250-1.25001.3750-1.50001.62502.2500-2.5000
    กรุงไทย0.50001.05001.40001.55002.3000
    กสิกรไทย0.50000.9500-1.15001.2500-1.40001.4000-1.60002.1500-2.2500
    ไทยพาณิชย์0.50001.0000-1.25001.2500-1.45001.4000-1.65002.2500-2.5000
    กรุงศรีอยุธยา0.50001.1250-1.30001.4000-1.55001.4500-1.70002.2500-2.5000
    ทหารไทย0.5000-0.75001.1000-1.70001.30001.5000-1.90002.2500-2.5000
    นครหลวงไทย0.5000-0.75001.2000-1.30001.5000-1.60001.75002.2500-2.5000
    ยูโอบี0.50001.1000-1.25001.3000-1.45001.5000-1.75002.2500
    ซีไอเอ็มบี ไทย0.50001.25001.55001.75002.3500
    สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)0.0000-1.25000.75000.90001.00001.5000
    ธนชาต0.5000-0.75001.2000-1.30001.5000-1.60001.75002.2500-2.5000
    ทิสโก้0.7500-1.25001.60001.75001.75002.2500
    เมกะ สากลพาณิชย์0.50001.20001.50001.6500-
    เกียรตินาคิน0.75001.6000-1.85001.7500-2.00001.8000-2.00002.1500-2.7500
    แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย0.0000-1.50001.2000-1.45001.4000-1.55001.6000-1.75002.5000
    ไอซีบีซี (ไทย)0.7500-1.25001.50001.62501.75002.2500
    ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย0.75001.75001.80002.00002.2500-2.5000
    ต่ำสุด - สูงสุดของ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ0.5000-1.50000.7500-1.85000.9000-2.00001.0000-2.00001.5000-2.7500
    สาขาธนาคารต่างประเทศ     
    แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ0.10000.25000.25000.2500-
    ซิตี้แบงก์0.65001.00001.15001.65002.0000
    ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น0.10000.25000.35000.5000-
    เอช เอส บี ซี0.1500-0.30000.1000-0.25000.1500-0.40000.1500-0.40000.3500-0.5500
    ดอยซ์แบงก์-----
    เจพีมอร์แกน เชส-----
    เครดิต อะกริกอล คอร์ปอเรทแอนด์อินเวสเมนท์แบงก์ 0.25000.5000-0.60000.6000-0.70000.6500-0.75000.7000-0.8000
    แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น-----
    อินเดียนโอเวอร์ซีส์0.7500-1.00001.45001.65002.25002.5000
    เดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี.-----
    อาร์ เอช บี1.0000-1.25001.5000-1.75001.6000-1.90001.8000-2.00002.5000
    โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น0.5000-0.87501.0000-1.12501.1250-1.25001.2500-1.3750-
    แห่งประเทศจีน0.10000.2500-0.62500.2500-0.62500.5000-0.87500.5000-1.0000
    มิซูโฮ คอร์ปอเรต-----
    บีเอ็นพี พารีบาส์-----
    ต่ำสุด - สูงสุดของ สาขาธนาคารต่างประเทศ0.1000-1.25000.1000-1.75000.1500-1.90000.1500-2.25000.3500-2.5000

    หมายเหตุ เป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ ณ เวลาประมาณ 12.00 น.

    " - " หมายถึง ไม่มีบริการสำหรับธุรกรรมนี้ 

    ตราสารหนี้ ภาครัฐ

    ตราสารหนี้ภาครัฐมีหลายประเภทดังนี้


    1. ตราสารหนี้รัฐบาล  ได้แก่
    1.1 ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills)
    เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี  ออกจำหน่ายในตลาดแรกด้วยวิธีการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา  เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินเต็มจำนวนตามราคาตรา
    ตั๋วเงินคลังเริ่มออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 มีอายุ 4 เดือน วงเงิน 50 ล้านบาท และมีการออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 ต่อจากนั้นรัฐบาลหยุดการออกตั๋วเงินคลัง  และเริ่มออกใหม่อีกครั้งโดยประมูลเมื่อวันที่ 27 กันยายน  2542 และออกต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 

    ปัจจุบัน ตั๋วเงินคลังส่วนใหญ่มีอายุ 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน  



    แถลงข่าว เศรษฐกิจและการเงิน เดือนพฤศจิกายน 2553

    ฉบับที่ 64/2553
    เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤศจิกายน 2553

         ภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวต่อเนื่อง หลังจากชะลอลงชั่วคราวในเดือนก่อนจากผลกระทบของอุทกภัย โดยเป็นการขยายตัวจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ และการผลิตภาคอุตสาหกรรม
         เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง

        รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทย มีดังนี้

         อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นจากที่ชะลอลงในเดือนก่อนจากผลกระทบของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนทั้งการใช้จ่ายสินค้าคงทนและไม่คงทน สอดคล้องกับการปรับดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภูมิภาคที่สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลงแล้ว อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงจากเดือนก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 โดยเครื่องชี้การลงทุนส่วนใหญ่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งการนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของนักธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น