2/24/2554

ตราสารทางการเงิน

   
     ตราสารทางการเงิน  หมายถึง เอกสารที่แสดงสิทธิเรียกร้อง ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางการเงิน ทั้งที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุน อาทิเช่น ตรา สารทางการเงินที่ ให้ผลตอบแทนเป็น “ดอกเบี้ย” หรือ “เงิน ปันผล” เช่น บัญชีเงินฝากประเภทต่าง ๆ หุ้นกู้ หุ้นทุน เป็นต้น หรือตรา สารทางการเงินที่ มูลค่าเพิ่มหรือลดได้ เช่น หุ้นทุน หุ้นกู้ เป็นต้น




ตราสารทางการเงินสามารถแบ่งตามอายุของตราสารได้เป็น 2 ประเภท


1. ตราสารการเงินในตลาดเงิน ได้แก่ ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน การซื้อขายส่วนใหญ่ทำ โดยการหักส่วนลด เช่น


- ตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองหรืออาวัล
- ตราสารประเภทเงินออม ได้แก่ ใบรับฝากเงิน (Certificates of Deposits) เงินฝากธนาคาร



ระบบการซื้อขายล่วงหน้า และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

     
     ระบบการซื้อขายล่วงหน้า หรือ ระบบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: Futures exchange หรือ derivatives exchange) คือระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ที่ผู้ที่เข้าร่วมทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contracts) สัญญาการซื้อล่วงหน้าเป็นสัญญาในการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามจำนวนและราคาที่ระบุ และที่ตั้งไว้ในเวลาที่ระบุในอนาคต

บทบาทของสำนักหักบัญชี

      
     ในการซื้อขายล่วงหน้าจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า "สำนักหักบัญชี" (Clearinghouse) เข้ามาเป็นผู้รับประกันการปฏิบัติหน้าที่ ตามสัญญาของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ในทางปฏิบัติแล้ว สำนักหักบัญชีมีหน้าที่เสมือน ผู้ซื้อของผู้ขาย และผู้ขายของผู้ซื้อ ซึ่งหน้าที่ของสำนักหักบัญชีดังกล่าว จะทำให้ผู้ซื้อหรือขายล่วงหน้า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
บริการเกี่ยวกับการหักบัญชี ประกอบไปด้วย 




บริษัทหลักทรัพย์

     บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้


         -กิจการนายหน้าซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์
         -กิจการค้าหลักทรัพย์
         -กิจการที่ปรึกษาการลงทุน
         -กิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
         -กิจการจัดการลงทุน


        บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ เป็นต้น สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด และได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จะมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก" หรือที่ผู้ลงทุนรู้จักกันทั่วไปว่า "โบรกเกอร์" ส่วนบริษัทหลักทรัพย์อื่นๆที่ไม่ได้เข้าเป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จะเรียกกันว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิก หรือ "ซับโบรกเกอร์"




หุ้น คืออะไร ??

      หุ้น คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ สหกรณ์ หุ้นมีหลายชนิด คือ
  1. หุ้นทุนหรือหุ้นสามัญ (Common Stock) คือหน่วยของความเป็นเจ้าของ ในบริษัท สหกรณ์ หรือกิจการอื่นที่ระบุให้แบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของเป็นหุ้นตามสัดส่วนจำนวน หุ้นที่มีถืออยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของ หุ้นที่ถือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่กิจการออกทั้ง หมด จะมีสิทธิ์ตั้งฝ่ายจัดการของกิจการได้
  2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือหุ้นที่มีความเป็นเจ้าของ ผสมกับความเป็นเจ้าหนี้ด้วย โดยที่ถ้าบริษัทนั้นๆต้องเลิกกิจการลง ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
  3. หุ้นกู้ (Debenture) คือตราสารที่กิจการออกเพื่อเป็นการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นเป็นผลตอบแทน กรณีที่เลิกกิจการผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับเงินที่ลงทุนในหุ้นกู้คืนก่อน เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
  4.