ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ตั้งแต่ กรกฎาคม 2540 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาด ซึ่งสะท้อนความต้องการและอุปทานของเงินบาทเทียบกับเงินตราต่างประเทศ
ทั้งนี้ในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการนั้น ธปท.
(1) จะไม่กำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยน ณ ค่าใดค่าหนึ่ง
(2) จะดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวผันผวนมากเกินไป โดย เฉพาะการเคลื่อนไหวจากเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไร โดยการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนต้องไม่ขัดกับนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมาย เงินเฟ้อ
อย่าง ไรก็ตาม ในบางขณะ ความต้องการระหว่างอุปสงค์และอุปทานมิได้พอดีกัน ทำให้ค่าเงินบาทแกว่งขึ้นลงตลอดเวลา โดย ธปท. มีนโยบายให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(1) ดูแลความผันผวน (volatility) ของค่าเงินให้อยู่ในระดับที่เศรษฐกิจรับได้
(2) รักษาความสามารถในการแข่งขันโดยพิจารณาจาก Nominal effective exchange rate (NEER) เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสกุลเงินของคู่ค้าและ คู่แข่งที่สำคัญในตลาดที่สาม ไม่ใช่เฉพาะ ดอลลาร์ สรอ.
(3) ไม่ฝืนแนวโน้มที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพราะจะนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุล (Imbalances)
www.bot.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น