11/02/2555

ข้อควรรู้ก่อนขอสินเชื่อธุรกิจ SMEs

ข้อควรรู้ก่อนขอสินเชื่อธุรกิจ SMEs  
                  ปัจจุบันการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อประกอบธุรกิจSMEsเป็นเเรื่องใกล้ตัวของผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะสถาบันการเงินต่างๆ มีการทำตลาดเชิงรุก เข้าถึงผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกและเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น แต่ในการขอสินเชื่อจากธนาคารผู้ประกอบการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจที่เริ่มต้น ขาดความเข้าใจหลักการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของธนาคาร  และคิดว่าการขอสินเชื่อหรือการที่ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้นั้นเป็นเรื่องยาก และบางรายอาจใช้บริการในการระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากธนาคาร บางครั้งทำให้ต้นทุนในการประกอบการสูงกว่าที่ควรจะเป็น ขาดโอกาสในการทำกำไร  หรือประสบกับปัญหาที่ยุ่งยากและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ แล้ววิธีการใดบ้างที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนติดต่อขอใช้บริการสินเชื่อกับสถาบันการเงินหรือธนาคาร  วันนี้จึงขอยกปัจจัยที่คิดว่าสำคัญและผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจก่อนการติดต่อขอกับธนาคาร  โดยในลำดับแรกผู้ประกอบการควรศึกษาหาข้อมูลของสถาบันการเงินหรือธนาคารที่ให้บริการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ว่ามีที่ใดบ้างที่มีผลิตภัณฑ์ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจของเรา มีการสนองความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนหรือกระบวนการการขอสินเชื่อที่สะดวกหรือยุ่งยากอย่างไร โดยเฉพาะระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อรวดเร็วทันต่อความต้องการใช้ในธุรกิจอย่างทันท่วงทีไหม มีเงื่อนไขที่ช่วยแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการได้ดีแค่ไหน เช่น เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการขอสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ รายได้ หรือหลักประกัน มีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่เป็น Solutions ในการช่วยแก้ไขปัญหา เช่น หลักประกันราคาไม่พอ หรือยังไม่มีหลักประกัน แต่อยากจะได้วงเงินเยอะ ๆ เป็นต้น ที่สำคัญการบริการหลังการขายที่เกินความคาดหมาย ไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้บริการทางสินเชื่อ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงหรือองค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้า และสิ่งที่จำเป็นต่อการประกอบการธุรกิจก็คือต้นทุนของสินเชื่อที่ปล่อยให้ผู้ประกอบการที่ต่ำกว่ามีจุดที่ให้บริการครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ เป็นต้น  ก่อนการตัดสินเลือกใช้บริการ
            สำหรับตัวผู้ประกอบการเอง ต้องตรวจสอบคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ในการขอสินเชื่อด้วยว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่ครบยังขาดตรงจุดใดบ้าง ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ซึ่งปัจจัยสำคัญในการที่มีโอกาสผ่านการ พิจารณาอนุมัตินั้น มีหลักใหญ่อยู่ 4 ปัจจัย ได้แก่
1.ตัวผู้ขอสินเชื่อเอง อาจจะเป็นในนามบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล จะต้องไม่เคยมีประวัติเสียหายในเรื่องการเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินใดมาก่อน ธนาคารจะทราบจากการตรวจสอบเครดิตบูโรของผู้กู้
2.ธุรกิจที่ทำอยู่ เป็นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเสี่ยงตามนโยบายของธนาคารหรือไม่ หรือติดเพดานการปล่อยสินเชื่อหรือเปล่า และต้องไม่เป็นธุรกิจที่ผิดศีลธรรมหรือขัดต่อความสงบสุขของสังคม เช่น บางครั้งมีบางธุรกิจที่ใครก็หันมาทำ จนทำให้ล้นตลาด มีการลด แลก แจก แถม จนต้องล้มหายตายจากไป ธนาคารจึงต้องเบรคไม่ปล่อยให้มีเพิ่มเป็นต้น ตลอดจนประสบการณ์ในการทำธุรกิจก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ปกติทั่วไป ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า ปี  และธนาคารบางแห่งก็มีการอนุโลมโดยออกผลิตภัณฑ์พิเศษให้ลูกค้าที่เริ่มต้นธุรกิจ
3.รายได้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารๆ ไม่ได้มุ่งหวังหรือมีนโยบายที่จะยึดหลักประกันของลูกค้าหากลูกค้าไม่สามารถผ่อนชำระได้ แต่ธนาคารหวังได้รับการชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนจากลูกค้าเป็นเงินสด ทำให้ต้องมีการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ หรือรับภาระหนี้ของลูกค้าว่าสามารถรับภาระหนี้วงเงินสินเชื่อที่ขอได้หรือไม่ หรือที่เรียกว่า คำนวณ DSCR โดยคำนวณจากรายได้สุทธิ (รายรับหักรายจ่าย) ว่ามีเท่าไร และภาระการผ่อนคืนต่อเดือนรวมกับภาระเดิม (ถ้ามี) เป็นเท่าไร แล้วนำไปหารกับรายได้สุทธิ ผลออกมายิ่งสูงยิ่งดี โดยปกติไม่ควรต่ำกว่า 1.2 และหากสูงกว่า 2.5 ขึ้นไป อาจขอสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกันได้ โดยธนาคารจะพิจารณาจากผลการเดินบัญชีที่ผ่านมาย้อนหลังอย่างน้อย  เดือนนำมาเฉลี่ย และจากงบการเงิน(งบกำไร-ขาดทุน) ในกรณีขอในนามบริษัทฯ
4.หลักประกัน หากการขอสินเชื่อมีหลักประกันที่คุ้มกว่าวงเงินที่ขอ หรือที่เรียกว่า LTV ต่ำ โอกาสที่จะได้รับอนุมัติก็มีสูง (ต้องประกอบกับปัจจัยอื่นข้างต้นด้วย) หลักประกันควรเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย หรือที่ทำการของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ หากธุรกิจมีผลประกอบการที่ดี หลักประกันอาจไม่มีความจำเป็น แต่หากมีหลักประกันที่ดีในการเสนอขอสินเชื่อ ต้นทุนในการคิดอัตราดอกเบี้ยก็จะต่ำกว่าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน
            ก่อนการเข้าไปติดต่อกับธนาคารควรศึกษาคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อและเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม โดยสอบถามจากเจ้าหน้าที่หรือ ช่องทางการให้คำปรึกษาต่างๆ ของธนาคารว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน มาตรฐานของธนาคารที่มีประสิทธิภาพจะรู้ผลได้ภายใน วันทำการและได้รับเงินไม่เกิน 10 วันทำการ แต่หากเอกสารที่สำคัญไม่ครบถ้วน ถึงจะมีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเป็นเหตุให้ถูกปฏิเสธการขอสินเชื่อได้




ที่มา http://k-expert.askkbank.com/HowTo

ทำอย่างไรเมื่อเป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุลคล


     การนำเงินในอนาคตมาใช้ อาจทำให้คุณใช้จ่ายเกินตัว และเกิดภาระหนี้สินติดพันมากมายจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวได้ ดังนั้นก่อนจะทำบัตรเครดิต หรือเป็นหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ควรคิดให้รอบคอบ และประเมินตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจัดการกับหนี้สินที่จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือไม่

     การเป็นหนี้ส่วนบุคคล เปรียบเสมือนคุณนำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโทรศัพท์มือถือ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ซึ่งการใช้บัตรเครดิตนั้น ทำให้คุณมีความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย สามารถซื้อสินค้าที่มีราคาสูงได้ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินในปัจจุบัน และสามารถนำเงินจากบัตรเป็นเงินสำรองในกรณีฉุกเฉินได้ แต่ก่อนจะเลือกใช้บริการบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล คุณควรมีการพิจารณารายละเอียดให้รอบคอบเสียก่อน หรืออาจเรียกว่า วางแผนให้ดีก่อนเป็นหนี้” จะเห็นว่า บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น มีคุณอนันต์ กล่าวคือ สามารถนำเงินอนาคตมาใช้ก่อนได้ ในกรณีที่เราเกิดเหตุฉุกเฉิน แถมยังมีการจัดแคมเปญ สะสมแต้มเพื่อแลกของสมนาคุณ จูงใจลูกค้าให้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลก็มีโปรโมชั่นกู้ฟรีแถมไม่มีดอกเบี้ยด้วย ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ  เพียง 2-3 เดือน  แต่อย่าลืมว่าของฟรีไม่มีในโลก การกู้ฟรีบางทีก็มีโทษมหันต์เหมือนกัน
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และยังไม่รู้ว่าจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรนั้น มีวิธีการจัดการกับหนี้ทั้งสองง่ายๆ ดังนี้


1.         รวบรวมหนี้ทั้งหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งหมด เพื่อให้รู้จำนวนหนี้ทั้งหมดในปัจจุบันว่าเป็นเท่าไร

2.         แยกประเภทหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจ่าย  โดยชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าก่อน เช่น จ่ายหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ก่อนหนี้บัตรเครดิต

3.         ลดปริมาณการใช้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล หากปัจจุบันใช้บัตรหลายใบ ให้คงเหลือใช้เพียง 1 ใบ เพื่อรักษาวินัยในการใช้จ่าย

4.         หยุดการก่อหนี้เพิ่ม และตั้งใจชำระหนี้อย่างมีวินัย  หาทางเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้มากขึ้น
เมื่อปลดภาระหนี้แล้ว ควรวางแผนการเงินแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง หมั่นทำรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าเงินที่ใช้หมดไปกับอะไรบ้าง



อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555


                                               อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ 
                                                                  ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

ธนาคารออมทรัพย์ประจำ
3 เดือน6 เดือน12 เดือน24 เดือน
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ     
กรุงเทพ0.75001.8750-2.00002.1250-2.25002.5000-2.75002.7500
กรุงไทย0.75002.0000-2.20002.60002.7500-3.00003.1250
กสิกรไทย0.75001.6500-2.05002.0000-2.25002.4000-2.60002.6500
ไทยพาณิชย์0.75001.7500-2.10002.1500-2.35002.5000-2.75002.7500
กรุงศรีอยุธยา0.75001.8000-2.00002.1500-2.30002.6000-2.75002.7500
ทหารไทย0.1250-2.25001.7500-2.50002.00002.2500-3.00002.5000-2.8500
ยูโอบี0.65001.8500-2.00002.0000-2.25002.4000-2.65002.6500
ซีไอเอ็มบี ไทย0.50002.00002.40002.65003.0000
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)0.2500-2.50002.0000-2.25002.0000-2.50002.2500-2.75002.5000-2.7500
ธนชาต0.7500-1.40002.0000-2.15002.2500-2.45002.6000-2.80002.8500
ทิสโก้1.2500-2.50002.7500-2.85002.7500-2.85003.00003.1250
เมกะ สากลพาณิชย์0.85002.3000-2.80002.4500-2.90002.8000-3.0000-
เกียรตินาคิน0.75002.7500-2.80003.1000-3.15003.2500-3.30003.4000-3.4500
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์0.8750-3.00002.8500-3.00003.1500-3.25003.0000-3.30003.4000-3.4500
ไอซีบีซี (ไทย)0.8750-2.25002.75002.7000-2.95002.8500-3.10003.0000-3.2500
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย0.85002.75002.8500-3.15003.25003.2500



ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

7/13/2555

ทำธุรกิจจากทุนส่วนตัว หรือกู้เงิน ทางเลือกไหนจะมีโอกาสดีกว่ากัน


ทำธุรกิจจากทุนส่วนตัว หรือกู้เงิน ทางเลือกไหนจะมีโอกาสดีกว่ากัน 
              เคยคิดเล่น ๆ ตอนเข้าทำงานใหม่ ๆ อยู่ว่าทำไมหนอ คนมีเงินอยู่แล้วทำไมยังต้องไปขอกู้เงินจากธนาคารมาทำธุรกิจกัน บางคนเห็นยิ่งรวยก็ยิ่งกู้ทำโน่นทำนี่เพิ่ม ทำไมต้องยอมเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารนะ ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด การไม่มีหนี้น่าจะเป็นลาภอันประเสริฐ  แต่พอได้ทำงานได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์มากขึ้น เห็นโลกที่เป็นจริงขึ้นว่าคนไม่น้อยที่จำเป็นต้องมีหนี้ อยู่ที่ว่าใครจะเป็นหนี้แล้วสร้างโอกาสที่ดีกว่า สร้างอนาคตได้ดีกว่า  ไม่ใช่เป็นหนี้แล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น กู้เงินไปใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค สิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ ที่ไม่ก่อประโยชน์ เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ส่วนสำหรับหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ น่าจะเป็นวิธีการสร้างโอกาสที่ดีกว่า เช่น เรื่องที่อยู่อาศัย หากเรากู้เงินเพื่อซื้อบ้าน ในอนาคตเมื่อเราผ่อนชำระหนี้หมดแล้วเราก็มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน มีบ้านเป็นของตนเอง ย่อมดีกว่าเราเช่าอยู่อาศัย ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ตกเป็นของเรา
สำหรับผู้ประกอบการแล้วในการทำการค้าการเป็นหนี้ย่อมถือเป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจ เช่น ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นเงินเชื่อ การขอวงเงินโอดีจากธนาคารมาหมุนเวียนในการค้า การกู้เงินมาลงทุนในการขยายธุรกิจ การซื้อเครื่องจักรเพิ่มเพื่อผลิตให้ทันออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น  เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้ธุรกิจก้าวหน้าเจริญเติบโตขึ้น
            เราลองมาคิดอีกขั้นดูว่า หากเรามีเงินทุนสักก้อนที่เพียงพอสำหรับการลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่เราอยากจะทำ  อาจจะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ  ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่มีทุนอย่างเดียวซื้อแฟรนไชส์มาก็ทำได้เลย หรือทำธุรกิจที่เราถนัดหรือน่าจะมีโอกาสในท้องถิ่น โดยเปรียบเทียบกันระหว่างกรณีที่กู้เงินกับกรณีที่ไม่กู้เงิน ว่าอย่างไรจะสร้างโอกาสได้ดีกว่ากัน  ตัวอย่าง  ธุรกิจปั้มแก๊สตามตารางข้างล่างนี้
(หน่วย : ล้านบาท)

กรณีไม่กู้เงิน
กรณีกู้เงิน
ปั๊มแก๊สแห่งเดียว
ปั๊มแก๊สแห่งที่ 1
ปั๊มแก๊สแห่งที่ 2
สินทรัพย์ที่ลงทุน
20
20
20
หนี้สิน (ยอดกู้)
-
10
10
ส่วนของผู้ถือหุ้น
20
10
10




รายได้ทั้งปี
20
20
20
หัก ต้นทุนและค่าใช้จ่าย
-15
-15
-15
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย
5
5
5
หัก ดอกเบี้ยจ่าย
-
-1
-1
กำไรก่อนหักภาษีเงินได้
5
4
4
หัก ภาษีเงินได้ (30%)
-1.5
-1.2
-1.2
กำไรสุทธิ
3.5
2.8
2.8
โอกาสทำกำไรโดยรวม
3.5
5.6
หมายเหตุสมมติว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 10% ต่อปี



ข้อคิดสำหรับผู้ที่จะซื้อรถยนต์


ข้อคิดสำหรับผู้ที่จะซื้อรถยนต์ 
            ปัจจุบัน รถยนต์สามารถเป็นได้ทั้งสิ่งจำเป็นในชีวิตและเครื่องมือแสดงสถานะไปในตัว หลายท่านที่มีฐานะการเงินดีมีเงินเหลือเยอะ ก็อยากจะซื้อรถด้วยเงินสด ด้วยเหตุว่าจะได้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไรก็ดี ในเชิงการวางแผนการเงิน เรามีข้อแนะนำบางประการสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะซื้อรถยนต์
ประการแรก ให้เลือกซื้อเท่าที่จำเป็นต้องใช้ เพราะถ้ามองในเชิง ความคุ้มค่าของเงิน ที่จะใช้ไปแล้ว อาจเรียกได้ว่าการซื้อรถยนต์เป็นการลงทุนที่ขาดทุนมากที่สุด เพราะโดยทั่วไปเมื่อนำไปขายต่อในสภาพรถมือสองแล้ว ราคาจะลดลงเยอะมาก คิดคร่าวๆ คือค่าเสื่อมราคาในปีแรกจะอยู่ที่ประมาณ 30% ถึง 40% และในปีต่อไปอยู่ที่ประมาณ 10% ถึง 20% ต่อปี รวมภายใน ปีแรก มูลค่ารถน่าจะเหลือแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง  ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องเลือกรถสักคันก็ควรเลือกให้พอเหมาะกับเงินที่เราจะ ลงทุน” ไป คือดูว่ามันเหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งานจริงๆ ไม่ต้องมีเครื่องตกแต่งอะไรที่มันมากเกินความจำเป็น เว้นแต่ผู้ที่มีเงินเหลือเยอะมากก็อาจมองว่าการซื้อรถเป็นการลงทุนทางเลือกแบบหนึ่ง คือจัดหาอุปกรณ์แต่งรถตามความชอบหรือซื้อมาหลายรุ่นเก็บสะสมไว้เพื่อความสุขตาสุขใจ อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ
ประการที่สอง อย่าซื้อ เงินสด เหตุผลก็คือเงินที่เราจะเอาไปซื้อรถคันหนึ่ง อย่างน้อย ๆ ก็ครึ่งล้านบาท แต่พอเวลาผ่านไป 1 ปี ราคารถยนต์มันจะเสื่อมค่าลงไปเรื่อยๆ เช่น ลดลงประมาณ 30% ภายใน 1 ปี พอผ่านไป 5 ปีราคาจะเหลือประมาณ 50% ลองคิดดูว่าถ้าเราจ่ายเป็นเงินสดทั้งก้อน เงินของเราก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว คือในเวลา 5 ปีก็หายไปแล้วครึ่งหนึ่ง ทางเลือกที่ดีกว่าในเชิงการเงินก็คือการใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ เรียกว่าการเช่าซื้อ (Hire Purchase) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ราวๆ 2% ต่อปีเท่านั้น แล้วนำเงินจำนวนเดียวกันนั้นไปลงทุนไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม ทองคำ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตั๋วเงินคลัง หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ก็ให้ผลตอบแทนราว 2% อยู่แล้ว วิธีนี้จะให้ผลคุ้มค่ามากกว่าการซื้อด้วยเงินสดทั้งก้อน กล่าวโดยสรุปคือกรณีบุคคลธรรมดา การซื้อรถด้วยเงินสดนั้น ผมว่าเป็นวิธีที่เอาเงินไปละลาย 50% ภายใน 5 ปี และเสียโอกาสในการลงทุนที่มีทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนที่ดี 
ถ้าเป็น นิติบุคคล คือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการหารถยนต์มาใช้ในกิจการของตัวเอง วิธีที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือการใช้บริการลีสซิ่ง (Leasing) เพราะในเชิงภาษีแล้ววิธีการลงบัญชีจะต่างกัน การเอารถยนต์มาใช้ด้วยวิธีลีสซิ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในลักษณะการเช่า ต่างจากกรณีการเช่าซื้อที่ได้กล่าวไปเมื่อสักครู่ ซึ่งถือว่าเป็นการซื้อทรัพย์สินแล้วลงรายจ่ายเป็นค่าเสื่อมราคา โดยในหลักบัญชีแล้วการลงบัญชีแบบลีสซิ่งจะทำให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ผลก็คือทำให้กำไรสุทธิก่อนหักภาษีน้อยลง เสียภาษีน้อยลง และมีกระแสเงินสดของกิจการมากขึ้น
            สมมติรถราคา 1 ล้านบาท ว่านิติบุคคลซื้อรถด้วยเงินสดหรือทำเช่าซื้อ จะหักค่าเสื่อมราคาได้ 5 ปีๆ ละ 200,000 บาท หรือเดือนละประมาณ 16,667 บาท แต่ถ้าเกิดว่าไปทำลีสซิ่งก็หักค่าเช่าได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน ซึ่งก็มากเป็นสองเท่าเทียบกับการซื้อด้วยเงินสดหรือว่าเช่าซื้อ แปลว่าสามารถเร่งค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ประหยัดภาษีได้มากกว่า
ประการสุดท้าย ควรซื้อรถยี่ห้อที่ได้รับความนิยม แต่ถ้าเผอิญถูกใจยี่ห้อที่ไม่ได้รับความนิยมก็ให้ดูรุ่นที่ได้รับความนิยม เพราะการขายต่อก็จะได้ราคาดีกว่า นอกจากนี้ ถ้ารุ่นไหนเสนออัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อร้อยละศูนย์ ลดแลกแจกแถมเยอะ ก็ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าอาจเป็นรถตกรุ่นหรือขายไม่ดี ภาษาในวงการเรียกว่า cold cake รถที่ขายดีเค้าจะไม่ทำโปรโมชั่นพวกนี้
โดยสรุปแล้ว แนะนำว่าบุคคลธรรมดาควรซื้อรถด้วยวิธีเช่าซื้อ เพราะว่าดอกเบี้ยถูกมาก การนำเงินที่จะซื้อแบบเงินสดไปลงทุนทั้งกองทุน  ทั้งทองคำ  ทั้งอสังหาริมทรัพย์ก็ย่อมได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าทั้งนั้น ส่วนกรณีนิติบุคคลที่มีกำไรก็แนะนำให้ทำลีสซิ่ง เพราะว่าหักภาษีได้มาก  โดยเฉพาะรถราคาเกิน 1 ล้านบาท หักภาษีได้ถึง 2 ล้านกว่าบาทซึ่งได้ประโยชน์ทางภาษีมาก

โดย : วิศวกร ปันยารชุน 
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย

5/19/2555

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2555


อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2555
ธนาคารออมทรัพย์ประจำ
3 เดือน6 เดือน12 เดือน24 เดือน
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ
กรุงเทพ0.75002.0000-2.25002.3750-2.62502.7500-3.00003.1250
กรุงไทย0.75002.0000-2.20002.60002.7500-3.00003.1250
กสิกรไทย0.75001.8000-2.20002.2500-2.50002.65003.0000
ไทยพาณิชย์0.75001.8500-3.00002.3000-3.35002.7500-3.30003.1000-3.1500
กรุงศรีอยุธยา0.75002.0500-2.25002.3500-2.50002.7500-3.00003.2000
ทหารไทย0.3750-0.62501.7500-2.75002.00002.2500-3.00002.7500-3.0000
ยูโอบี0.65001.9500-2.20002.2500-2.45002.5000-2.75002.7500
ซีไอเอ็มบี ไทย0.75002.25002.75003.00003.2500
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)0.2500-2.50002.0000-2.25002.0000-2.50002.2500-2.75002.5000-2.7500
ธนชาต0.7500-1.50002.0000-2.20002.3500-2.50002.7500-3.00003.1000-3.2000
ทิสโก้1.2500-2.50002.3500-2.90002.5000-3.00002.7500-3.25003.0000-3.3750
เมกะ สากลพาณิชย์0.85002.15002.45002.7000-
เกียรตินาคิน0.75003.0000-3.15003.2500-3.40003.7500-3.90003.2500-3.4000
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์0.8750-2.75003.0500-3.25003.35003.0000-3.45003.5000
ไอซีบีซี (ไทย)0.8750-2.25002.6250-2.75002.8750-2.95003.0000-3.10003.2500
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย0.85003.00003.25003.25003.2500
ต่ำสุด - สูงสุดของ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ0.2500-2.75001.7500-3.25002.0000-3.40002.2500-3.90002.5000-3.5000
สาขาธนาคารต่างประเทศ
แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ0.10000.25000.25000.2500-
ซิตี้แบงก์0.65002.80002.85002.95003.1000
ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น0.10000.25000.35000.5000-
เอช เอส บี ซี0.2500-0.40001.2000-1.50001.3500-1.65001.6500-1.90001.8000-2.0000
ดอยซ์แบงก์-----
เจพีมอร์แกน เชส-----
เครดิต อะกริกอล คอร์ปอเรทแอนด์อินเวสเมนท์แบงก์0.25000.5500-0.65000.6500-0.75000.7000-0.80000.7500-0.8500
แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น-----
อินเดียนโอเวอร์ซีส์0.7500-1.00003.00003.25003.50003.5000
เดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี.-----
อาร์ เอช บี1.7500-2.50002.9000-3.10002.9500-3.15003.0500-3.2500-
โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น0.7500-1.25002.0000-2.12502.1250-2.25002.2500-2.5000-
แห่งประเทศจีน1.35002.5000-2.75002.5000-2.75002.5000-2.75002.6250-2.8750
มิซูโฮ คอร์ปอเรต-----
บีเอ็นพี พารีบาส์-----
ต่ำสุด - สูงสุดของ สาขาธนาคารต่างประเทศ0.1000-2.50000.2500-3.10000.2500-3.25000.2500-3.50000.7500-3.5000

หมายเหตุ เป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ ณ เวลาประมาณ 12.00 น.
" - " หมายถึง ไม่มีบริการสำหรับธุรกรรมนี้